ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดแข็งค่า เศรษฐกิจสหรัฐแย่กว่าคาดฉุดดอลลาร์
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อย โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ค. แม้สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ที่ต่ำกว่าคาด
ล่าสุด FedWatch Tool บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 84.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และให้น้ำหนักเพียง 15.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00%
ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้แข็งค่าก่อนการประชุมเฟด
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นข้อมูลเงินเฟ้อสำคัญตัวสุดท้ายก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 2-3 พ.ค.
ราคาทองวันนี้ ปิดลด 100 บาท จากค่าเงินบาทแข็งค่า ขณะตลาดสปอตแกว่ง
คลังออกพันธบัตร "ออมอุ่นใจ" ดอกเบี้ย 2.60-2.70% เริ่มจำหน่าย 10 พ.ค.
สำหรับปัจจัยด้าน Fund Flow ต่อค่าเงินบาท นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิทั้งในตลาดพันธัตร 222 ล้านบาท และในตลาดหุ้น252 ล้านบาท
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออกขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า แม้ว่ารายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปีนี้ จะออกมาน่าผิดหวัง โดยเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.1% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี แย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 2.0% ทำให้นักลงทุนยังคงเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนพฤษภาคมคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
ส่วนทางด้านตลาดบอนด์ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ และมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤษภาคมสู่ระดับ 5.25% ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.52% เข้าใกล้โซนแนวต้านแรกแถว 3.50%-3.60% อีกครั้ง
ในวันนี้ ตลาดรอรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า แม้อัตราเงินเฟ้อ PCE อาจชะลอตัวลงต่ำกว่าระดับ 5.00% แต่ทว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจอยู่ในระดับสูงกว่า 4.5% ทำให้เฟดยังมีความจำเป็นที่ต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ 0.25%สู่ระดับ 5.00%-5.25% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม
แนวโน้มค่าเงินบาท ในช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยมีทั้งจังหวะอ่อนค่าตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์
ส่วนในวันนี้ ประเมินว่า ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในกรอบเดิม โดยโซนแนวต้านจะอยู่ในช่วง 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์