“เปิดข้อมูลรัฐ” กุญแจปราบคอร์รัปชันที่ไทยยังมีไม่เพียงพอ
หากมีคนถามว่า เมื่อไหร่เรื่องของ “การทุจริตคอร์รัปชัน” จะหมดไปจากประเทศไทย เชื่อว่าคงยากที่ใครจะให้คำตอบที่ชัดเจนได้ แต่ที่ผ่านมาภาคส่วนต่าง ๆ ก็ได้มีความพยายามมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
หนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การปราบโกงได้คือ การผลักดันให้มี “การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” โดยหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐ ที่ปัจจุบันยังคงมีไม่เพียงพอ
สถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปัจจุบัน อยู่ตรงไหนแล้ว?
ในการเสวนา “ลงทุนไทยไร้สินบน : ปลดล็อกข้อมูลรัฐ จุดเปลี่ยนปราบโกง” วิทยากรที่เข้าร่วมการเสวนาให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์ในบางด้านของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สร้างอิมแพกต์มากพอคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รศ.ดร.ต่อตระกูล เกษมมงคล กรรมการมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล กล่าวว่า การปราบปรามคอร์รัปชันในปัจจุบันมีความเข้มงวดมากขึ้น ในระดับที่ว่า “ถ้าไปถามคนเรียกสินบน เขาก็จะบอกว่าตอนนี้เสี่ยงมาก ขอขึ้นค่าสินบน 2 เท่า แปลว่าเขากลัว แต่ก็ยังทำอยู่”
คุณต่อตระกูลบอกว่า สิ่งหนึ่งที่ดีขึ้นคือ การเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ ตัวอย่างเช่นที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน มีการรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง การประมูลงานต่าง ๆ มีคนคอยเก็บรวบรวมมา ถ่ายรูป สังเกตการณ์ จับตาว่านักการเมืองมีทรัพย์สินเท่าไหร่ มีคนที่พยายามเข้ามาตรวจสอบเงินของรัฐมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจพบการทุจริตได้ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับเสากินรี เป็นต้น
ป.ป.ช. ย้ำ “ประเทศไทยยังไม่หมดหวัง” ในการปราบปรามการทุจริต
5 ประเภททุจริตคอร์รัปชั่น เนื้อร้ายกัดกินประเทศไทย
ศูนย์ CDC โมเดลป้องปรามทุจริตเชิงรุก
ด้าน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นด้วยว่า ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือภาคเอกชน ต่างมีความเข้มแข็งขึ้น เริ่มเห็นเทรนด์ที่ดี
“คอร์รัปชันก็เหมือนช้างในบ้าน เป็นปัญหาใหญ่ที่บางคนมองไม่เห็น แต่วันหนึ่งมันอาจล้มมาทับเราตายได้ ในกทม.เองก็มีเคสที่จับได้คาหนังคาเขา เราต้องเอาจริงเอาจัง” คุณชัชชาติกล่าว
เขาเสริมว่า ในส่วนเฉพาะของกทม.มีปัญหาเรื่องการใช้งบประมาณ การใช้ทรัพย์สินราชการ รวมถึงการโกง “เวลา” ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินราชการเช่นกัน
โดยการโกงเวลานี้มีความหมายถึง กระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ที่ล่าช้า เพราะต้องรอการพิจารณาผ่านดุลยพินิจของผู้มีอำนาจ เช่น การแจ้งปัญหาทางเท้าชำรุดในกทม. กว่าจะส่งเรื่องมาถึงผู้ว่าฯ เฉลี่ยใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งเดือน นานที่สุด 1 เดือนครึ่ง ทั้งที่หากลดขั้นตอนบางอย่างลงไป จะสามารถประหยัดเวลาในการทำงานไปได้มาก
ขณะที่ คุณกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า ที่ผ่านมา ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน
คุณกิตติบอกว่า ค่าดัชนีการรับรู้คอร์รัปชัน (CPI) ของประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้คะแนนอยู่ที่ 34-38 คะแนนประมาณนี้มาโดยตลอด สูงสุดเคยได้แค่ 38 คะแนนเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนด้วยกัน พบว่า เวียดนาม 10 ปีที่ผ่านมาขึ้นมา 11 คะแนน ส่วนอินโดนีเซียขึ้นมา 8 คะแนน แม้อันดับของสองประเทศยังต่ำกว่าไทย แต่พวกเขามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก ประเทศไทยไม่ไปไหนเลย
“ไทยน่าเป็นห่วง คอร์รัปชันจะกระทบเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนา ในทางธุรกิจก็คล้ายกัน ต้นทุนแพงขึ้น และถ้าข้อจำกัดเยอะ ประสิทธิภาพก็ลดลง ขยับไปไหนไม่ได้ แข่งกับใครไม่ได้ เงินที่มีแทนที่จะช่วยประชาชน ช่วยพัฒนาประเทศ การเอาเงินไปผลาญ เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้”
นอกจากนี้ ลักษณะของสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้คือ คอร์รัปชันขนาดเล็กกำลังลดลง แต่คอร์รัปชันขนาดใหญ่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น
“ด้วยเทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย ทุกคนเป็นนักสืบได้หมด ทำให้คอร์รัปชันตามถนนหนทาง ตามหน่วยงานต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ตัวเล็ก ๆ ที่โกง ลดลงไปมาก แต่คอรืรัปชันระดับนโยบาย คอร์รัปชันที่หนักหนาสาหัสมีเยอะขึ้น ป้องกันยาก การเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีมาก” คุณกิตติกล่าว
การเปิดเผยข้อมูลของรัฐ ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างไร?
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการสถาบันปรีดี พนมยงค์ ให้ความเห็นว่า การจะแก้คอร์รัปชันได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตัวอย่างจากเกาหลีใต้ ฮ่องกง หรือญี่ปุ่น คือต้องได้ผู้นำทางการเมืองที่มีเจตจำนงชัดเจน ทั้งองคาพยพของผู้นำทางการเมือง ร่วมกับสื่อ กับประชาชน
“ต้องทำให้ไทยเป็น Open Government (รัฐบาลเปิดเผย) มากกว่าแค่เปิดเผยข้อมูล เทคโนโลยีวันนี้ทำให้เกิด Radical Transparency หรือความโปร่งใสที่ทำให้เกิดการถอนรากถอนโคน แต่มันยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ” คุณอนุสรณ์กล่าว
เขาเสริมว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นระบอบอำนาจนิยม ไม่โปร่งใส ต่างจากหลักการหนึ่งของประชาธิปไตยที่ว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วม “แต่การยึดอำนาจที่ผ่านมาประชาชนไม่มีส่วนร่วม การเลือกตั้งต้องแคร์เสียงประชาชน แบกความหวังของประชาชน แต่คนที่ยึดอำนาจมาหรือมาด้วยวิธีอื่นเขาไม่แคร์ประชาชน ยกเว้นเป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งคนก็เปลี่ยนได้ แต่ถ้าระบบถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด การคอร์รัปชันจะเกิดยากขึ้น”
เขาบอกว่า 4 ปัจจัยของการสร้าง Open Government คือ เปิดเผยข้อมูลรัฐ สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของประชาชน และการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ดังนั้นจะเห็นว่า เรื่องของการเปิดเผยข้อมูลรัฐนั้น เป็นเรื่องที่จะขาดไปไม่ได้
บางท่านอาจสงสัยว่า ข้อมูลของภาครัฐเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องของการปราบปรามคอร์รัปชัน คุณชัชชาติพูดสรุปโดยง่ายว่า “ข้อมูลก็เหมือนกับไฟฉายที่ใช้ส่องเข้าไปในความมืด เพื่อทำให้เราเห็นปัญหาที่เรียกว่าคอร์รัปชัน”
กล่าวคือ การที่ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง การประมูลโครงการต่าง ๆ จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณรวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นหนึ่งในการเฝ้าระวังการคอร์รัปชัน
รศ.ดร.ต่อตระกูล บอกว่า สังเกตได้ง่าย ๆ องค์กรที่ยิ่งโกงจะยิ่งขัดขวางไม่ให้ประชาชนเห็นข้อมูล ดังนั้นต้องเปิดเผยอย่างจริงใจ เพื่อให้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้
“ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเอไอจะทำให้อีกหน่อยโยนข้อมูลลงไปตูมเดียว ถ้าข้อมูลโปร่งใสพอ มันจะบอกได้เลยว่าองค์ไหนโกงที่สุด แต่ทุกวันนี้เราขาดข้อมูล ทั้งที่มีกฎหมายว่าต้องเปิดเผย” คุณต่อตระกูลกล่าว
คุณชัชชาติเสริมว่า หลักการของเรื่องนี้คือ ต้องทำให้ข้อมูล “เปิดอัตโนมัติ ไม่ใช่ปิดอัตโนมัติ” และต้องอยู่ในรูปแบบที่เข้าถึงและอ่านได้ง่าย และบอกว่า กทม.ทุกวันนี้ทำแบบที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัก โอบามา เคยทำ คือนำข้อมูลรัฐมาเป็นดิจิทัลไฟล์ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ตลอดเวลา
“เราพยายามผลักดันให้เกิด Open Bangkok คือเปิดทุกอย่าง ให้กทม.ในฝันเป็นจริง คือมีความโปร่งใส รับผิดชอบ และประชาชนมีส่วนร่วม เกิดเป็นรัฐที่ประชาชนเชื่อใจ” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
คุณชัชชาติยกตัวอย่างว่า ในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา กทม.ใช้กล้องวงจรปิด CCTV และเขียนโปรแกรมจับการเคลื่อนไหวให้ส่งไลน์มาแจ้งเตือนหากพบสิ่งผอดปกติ นี่คือตัวอย่างของความโปร่งใสให้ประชาชนไว้วางใจ
หรืออย่างการใช้ “Traffy Fondue” เป็นแพลตฟอร์มพัฒนาโดย สวทช. ที่มีมา 4 ปีแล้ว ลักษณะคือ ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม เช่น ฝาท่อพังในเขตดุสิต จะเห็นผ่านแพลตฟอร์มได้เลยว่า แจ้งเข้าเมื่อไร มีคนรับเรื่องเมื่อไร แก้ไขเสร็จเมื่อไร มีร่องรอย (Footprint) ติดตามตรวจสอบได้ ให้คะแนนได้ด้วยว่าพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาแค่ไหน
“นี่คือความโปร่งใส แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ว่า … ไม่ต้องสนใจผู้ว่า ไปสนใจประชาชน นี่คือการแก้เรื่องการคอร์รัปชันเวลา” คุณชัชชาติบอก